วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถ้อยคำ สำนวน ภาษา ข้อคิด คำคม

..แม้แต่คนที่เดินเข้าออกกันอย่างสับสนนั้น ก็จางลงไปเห็นแต่เป็นเงา สิ่งที่เด่นอยู่ในสายตาของพลอยและยิ่งเด่นชัดขึ้นทุกวันที่พลอยเดินใกล้เข้าไป ก็คือธรณีประตูที่ปิดทองไว้เป็นแห่งๆ นั่นเอง

..เสด็จให้มาทูลถามเสด็จง่าจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จ เสด็จจะเสด็จด้วย

..คนเราเกิดมาทุกคนย่อมมีจิตใจที่แตกต่างกัน มีใจที่รักความอิสระโดยไม่มีข้อผูกพันกับใครบ้าง หรือมิฉะนั้นก็มีใจที่ต้องการจะอยู่กับคนอื่น หรือเป็นของคนอื่น จะอยู่ด้วยตนเองแต่เพียงคนเดียวนั้นไม่ได้ พลอยเป็นผู้หญิงทั้งกายและใจโดยสมบูรณ์ จึงมีใจอย่างประเภทหลัง

ในชีวิตของพลอยนั้นก็นับได้ว่าได้ผ่านความทุกข์มาแล้วหลายต่อหลายหน ได้เคยพบความผิดหวัง เคยได้รับความทุกข์โทมนัส เมื่อพ่อแม่พี่น้องหรือคนรักต้องกำจัดพรัดพรายไป แต่ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงที่เคยได้ประสบ ดูจะเป็นของธรรมดา เมื่อเทียบกับความทุกข์ที่บังเกิดขึ้น เมื่อได้เห็นคนที่เรารักอย่างใกล้ชิด คือลุกๆ ต้องผิดข้องหมองใจกัน

ความหวังเหมือนกับเปลวไฟดวงเล็กที่จุดอยู่ในหัวใจเสมอ ถึงแม้ว่าความมืดมนจะผ่านเข้ามาในหัวใจสักเท่าไร เปลวไฟดวงเล็กนั้นก็มิได้ดับลง ยังคงให้แสงสว่างน้อยๆ อยู่เสมอ... เปลวไฟแห่งความหวังนั้น ได้ถูกหล่อเลี้ยงไว้ด้วยเชื้อจากคำพูดของหมอดูจีนสองสามคำ...

ผมเชื่อว่าถ้าเราทำความดีต่อใครคนหนึ่งที่เป็นคนดี และทำความดีต่อเรามากความดีที่เราทำนั้น ถ้าหากเขารู้เข้าก็คงพอใจ

ความน้อยใจความช้ำใจในเรื่องการแบ่งแยกระหว่างลูกเมียหลวงและลูกเมียน้อย ยังฝังติดอยู่ในหัวใจของพลอยเปรียบประดุจรสอันขมขื่นที่ติดอยู่ในปาก

..บางอย่างเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคต ซึ่งทำให้เหตุการณ์ทั้งหมดไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่งขึ้นได้อีก หลังจากนั้นท้องฟ้าก็จะดูมืดครื้มลง และทุกอย่างก็มืดครื้มไปตามเสียงลมพัดเสียงนกร้อง และเสียงน้ำไหลหน้าบ้านฟังดูเหมือนเสียงคนร้องไห้

..ฝูงคนที่มาคอยถวายบังคมก็มากขึ้นทุกที อากาศที่ครื้มอยู่ตลอดวันนั้นกลายเป็นเมฆฝนขนาดหนักบดบังท้องฟ้ามืดมิดไปทั่วราวกับเวลากลางคืนที่มืดสนิท ..แต่ดินฟ้าอากาศที่แสดงอาการว่าฝนจะตกนั้นมิได้ทำให้ฝูงชนที่มาถวายบังคมพระบรมศพนั้นท้อถอยไปได้เลย ..พลอยขนลุกเมื่อได้ยินเสียงคนเป็นอันมากร้องไห้โฮดังมาจากถนนราชดำเนินนอก..

คนเราจะเป็นเศรษฐีหรือยาจกมันอยู่ที่ใจ อย่างฉันมันเกิดมาเป็นเศรษฐีตลอดชาติ ถึงไม่ค่อยมีอัฐ แต่มีความสบายใจ ส่วนคนบางคนเขาร่ำรวยเท่าไรๆ ก็ไม่รู้จักพอ ต้องนั่งหน้านิ่วคิ้วขมวดจะหาให้มันมากยิ่งขึ้นไปอีก กินไม่ได้นอนหลับ ถึงจะมีเงินมากเท่าไรก็ยังมีความทุกข์เท่ากับคนจนอยู่นั่นเอง

การเมืองทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างคนกับคน ..บางเวลาการเมืองก็หามิตรให้ได้มาก แต่บางครั้งการเมืองก็อาจทำให้เราต้องเสียมิตรไปจนหมด ตลอดจนทำให้ต้องเสียสมบัติ

ประเด็นที่ควรพิจารณา

วิถีชีวิตในวัง

- ค่านิยมในครอบครัว มีสามี ภรรยา มากว่า 1

- ค่านิยมในความร่ำรวย

- ค่านิยมในการแต่งกาย

- ประเพณีสำคัญ ได้แก่ โสกันต์ พระบรมศพ โกนจุก ลอยกระทง การแต่งงาน อุปสมบท

- ปัญหาสังคม ยาเสพติด ครอบครัวแตกแยก

การศึกษาทางสังคมวิทยา

ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ในแง่การดำเนินชีวิตร่วมสมัยในแต่ละสมัย ที่บุคคลดำรงอยู่ เมื่อพิจารณาทฤษฏีทางสังคมวิทยา พบว่า ..ด้วยความจำเป็นทางสังคม เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้ สังคมต้องบรรลุถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานซึ่งเรื่อง “สี่แผ่นดิน” นี้ผู้เขียนได้แสดงภาวะของบุคคลในสังคม ตรงกับทฤษฏีคือ “ความจำเป็นในการส่งทอดวัฒนธรรม” สำหรับสังคมที่จะให้คงอยู่เป็นรูปแบบที่เป็นไทย เข้าใจในสภาพที่เกิดการเป็นไป สาเหตุแห่งหารเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมสังคม โดยวัฒนธรรมที่มีอยู่ถึงปัจจุบันนั้น เน้นที่ ประเพณี ค่านิยม ความคิดของสังคม อันเป็นสาระสังคม ที่ผู้เขียนเสนอนอกเหนือจาก “ประวัติศาสตร์”

ตัวละครที่สำคัญในเรื่อง

นอกเหนือจาก “พลอย”

พลอย พ่อเพิ่ม แม่ช้อย คุณเชย ลูกชายทั้ง 3 คุณเปรม พ่อเนื่อง แม่แช่ม คุณสาย คุณอุ่น ลูกสาว

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการเสด็จประภาสยุโรป การแต่งตั้งผู้แทนพระองค์จนถึงการสวรรคต

- เหตุการณ์ สมัยรัชกาลที่ 6 เหตุการณ์ส่วนพระองค์ทรงอภิเษกสมรส และการแสดงละคร-สวรรคต

- เหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ 7 กล่าวถึงการสมโภชพระนคร 150 ปี การปฏิวัติรัฐประหาร การสละราชสมบัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

- สมัยรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัตพระนคร สงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ 2 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมค่านิยมตะวันตก การเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ และ เสด็จสวรรคต

สี่แผ่นดิน

“สี่แผ่นดิน” เป็นนวนิยายอมตะสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่งที่มีคุณค่าแห่งวรรณกรรม และวรรณคดีไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้ความเพลิดเพลิน ในรูปของนวนิยายแล้ว ยังให้ความรู้เรื่องของประวัติศาสตร์ไทย ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 ถึง สิ้นรัชกาลที่ 8 การสะท้อนให้เห็นสภาพวิถีชีวิตความเป็นไทยของชนชั้นกลาง ชั้นสูงในสมัยนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยฉากที่เป็นจริง ตัวละครที่ผู้เขียนจินตนาการให้โลดแล่นอยู่ในเรื่อง แต่ดูเหมือนว่ามีชีวิตจริงในสมัยนั้นทำให้ผู้อ่านได้อรรถรสด้วยกลวิธีการแต่ง การใช้ภาษาการจัดตัวละคร ที่สำคัญคือมีโครงเรื่องที่รัดกุม ไม่ซับซ้อนเขียนตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เริ่มเรื่องโดย...

ตัวละครเอกคือ “พลอย” เดินทางออกจากบ้านของพระยาพิพิธ ผู้เป็นพ่อ ไปกับแม่คือนางแช่ม เนื่องจากสภาพปัญหาครอบครัว “เมียหลวง เมียน้อย” แม่พาพลอยไปฝากเสด็จฯ ในวัง ทำให้พลอยได้ใช้ชีวิตในวังตั้งแต่อายุ 10-16 ปี ต่อมาได้แต่งงานกับ คุณเปรม หมาดเล็กผู้มีตระกูลสูง ชีวิตของพลอยเปลี่ยนไป อยู่นอกวังเป็นคุณพลอย แห่งชนชั้นสูงวงศักดินา ด้วยสามีเป็นคุณพระ มีครอบครัว ลูกตนและลูกเลี่ยง รวม 4 คน (คือ อ้น..ลูกเลี้ยง อั้น อ๊อด และประไพ)

เหตุการณ์ดำเนินไป ถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งพลอยได้มีโอกาสส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ อันเกี่ยวเนื่องถึงความพลิกผันของครอบครัวด้วยเหตุทางการเมืองและภาวะสงคราม ต่อมาสามีตาย ลูกๆ มีปัญหาทางครอบครัว

พลอยได้ใช้ชีวิตช่วงสงคราม ตามสภาพเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองสมัยนั้น ทั้งความตื่นเต้น ความกังวล และความทุกข์อันเกิดวิถีชีวิตของลูกชาย จนกระทั่งถึงสิ้นรัชกาลที่ 8 “พลอย” เป็นโรคหัวใจ ถึงแก่มรณกรรม อันเป็นการปิดเรื่อง